สัญลักษณ์ Flowchart

สัญลักษณ์ Flowchart

ความหมายของ Flowchart
Flowchart หรือ ผังงาน คือ รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือ คำพูดที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือ ข้อความทำได้ยากกว่า

ประเภทของ Flowchart
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
  1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้างๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย
  2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์

ประโยชน์ของ Flowchart
  1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define)
  2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing)
  3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug)
  4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read)
  5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language)

การโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง
ประกอบด้วยหลักการ 3 อย่าง คือ
  1. การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence) เป็นรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์
  2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข (Decision) เป็นการตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่น การตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
  3. การทำซ้ำ (Loop) เป็นการทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง

สัญลักษณ์ความหมาย

การกำหนดค่า หรือ การประมวลผลทั่วไป

การประมวลของโปรแกรมย่อย (Subroutine)

การตัดสินใจ การเปรียบเทียบ จะมีผลใน 2 ทิศทาง คือ กรณีผลตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ และเป็นจริง

รับ หรือ แสดงข้อมูล โดยไม่ระบุชนิดอุปกรณ์

โปรแกรมย่อย หรือ โมดูล เริ่มทำงานหลักจากจบคำสั่งในโปรแกรมย่อยแล้ว จะกลับมาทำคำสั่งต่อไป

การเก็บข้อมูลภายใน

การแสดงผลเอกสาร หรือ การแสดงผลออกทางเครื่องพิมพ์

การแสดงผลหลายเอกสารพร้อมกัน

การเริ่มต้น หรือ การสิ้นสุด

การกำหนดค่าต่างๆ ล่วงหน้า ซึ่งเป็นการทำงานภายในช่วงหนึ่งที่ซ้ำๆ กัน

การรับข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์

การทำซ้ำจนกระทั้งสิ้นสุดตามจำนวนที่กำหนด

จุดเชื่อมต่อในหน้าเดียวกัน

จุดเชื่อมต่อคนละหน้า

การรับข้อมูลเข้า หรือ แสดงผลโดยใช้บัตรเจาะรู

การรับข้อมูลเข้า หรือ แสดงผลโดยใช้เทปกระดาษเจาะรู

จุดร่วมการเชื่อมต่อ

หรือ

การจัดลำดับรายการของข้อมูลในรูปแบบมาตรฐาน

การจัดลำดับรายการของข้อมูล

การแยกให้เป็นสองขั้นตอนย่อย

การรวมสองขั้นตอนย่อยให้เป็นขั้นตอนเดียว

แหล่งเก็บข้อมูล Online หน่วยความจำสำรอง

การหน่วงเวลา

การรับ หรือ แสดงผลข้อมูลทางเทปแม่เหล็ก

การรับข้อมูลเข้า หรือ แสดงผลโดยใช้จานแม่เหล็ก

การจัดเก็บข้อมูลแบบการเข้าถึงโดยตรง

จอภาพแสดงผล


ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
good

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

WINS คืออะไร ทำงานอย่างไร และต่างจาก DNS อย่างไร

RTO & RPO คืออะไร