บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2013

เทคโนโลยี 3G และ 4G แตกต่างกันอย่างไร?

รูปภาพ
เทคโนโลยี 3G และ 4G แตกต่างกันอย่างไร?    3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และสมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่, ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยีสามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และแอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่    เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น MP3, เครื่องเล่นวีดีโอ, การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และการแสดงแผนที

RAID คืออะไร?

รูปภาพ
RAID คืออะไร?     RAID (Redundant Array of Inexpensive Disk) คือ การนำเอา Harddisk ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาทำงานร่วมกันเสมือนเป็น Harddisk ตัวเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือมีโอกาสที่จะสูญเสียข้อมูลน้อยลงในกรณีที่เกิดความผิดพลาดของ Hardware (Fault Tolerance) กลุ่มของ Harddisk ที่เอามาทำงานร่วมกันในเทคโนโลยี RAID จะถูกเรียกว่า Disk Array โดยระบบปฏิบัติการ และ Software จะเห็น Harddisk ทั้งหมดเป็นตัวเดียว ซึ่งการทำ RAID นี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการเก็บรักษาข้อมูลแล้ว ยังเป็นการประหยัดอีกด้วย เพราะว่ายิ่ง Harddisk มีความจุมากเท่าไหร่ ราคาของมันก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ดังนั้น สำหรับงานที่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากๆ อย่าง Database Server ถ้าเราเลือกใช้ Harddisk ความจุมากๆ เพียงตัวเดียว ในการเก็บข้อมูล หรือที่เรียกกันว่าเป็นการใช้ Harddisk แบบ SLED หรือ Single Large Expensive Disk ราคาที่เราเสียไปกับ Harddisk ตัวเดียวนั้น อาจจะไม่คุ้มค่าเท่ากับการใช้ Harddisk ที่มีความจุต่ำกว่า (ซึ่งแน่นอนว่าราคาต้องถูกกว่าหลายเท่าด้วย) นำมาต่อ เพื่อให้ทำงานร่วมกัน หรือที่เรียกกันว่า

DR Site คืออะไร

รูปภาพ
DR Site คืออะไร    สืบเนื่องด้วยความไม่แน่นอน หรือภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ใช้งานในปัจจุบัน ต้องการหนทางต่างๆ ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าปัญหานั้นจะมาจากภัยทางการเมือง ภัยสงคราม หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ดังนั้นวิธีการที่จำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดทำ DR Site DR Site ย่อมาจาก "Disaster Recovery Site"  หมายถึง ไซต์สำรองสำหรับแก้ไขปัญหาระบบสารสนเทศ ที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทำไม่ต้อง DR Site ป้องกันความเสียหายต่อธุรกิจ ป้องกันการเสียหายจากข้อมูล ป้องกันการเสียหายจากซอร์ฟแวร์ ป้องกันความผิดพลาดจากผู้ใช้งาน ประเภทของ DR Site Hot Site หมายถึง ระบบสำรองที่จะสามารถทำงานได้ทันที ที่ระบบหลักมีปัญหา มีลักษณะเช่นเดียวกับ Mirror Site ซึ่งหมายถึงว่าเรามีระบบสำรองที่ทำงานเหมือนระบบจริง ติดตั้งอยู่อีกสถานที่หนึ่ง Warm Site หมายถึง ระบบสำรองที่สามารถทำงานได้ก็ต่อเมื่อ มีการติดตั้งข้อมูลที่อัพเดท ที่ได้จากการทำสำรองข้อมูล Cold Si

ศูนย์ Data Center

รูปภาพ
ศูนย์ Data Center    Data Center คือ พื้นที่ที่ใช้จัดวางระบบประมวลผลกลาง และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร หน้าที่สาคัญคือ การรักษาเสถียรภาพของระบบไอที ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา เป็นจุดศูนย์รวมของระบบ IT ขององค์กร และอุปกรณ์สื่่อสารต่างๆ ปัจจัยในการออกแบบ Data Center ความมีเสถียรภาพ ความพร้อมใช้งาน การบำรุงรักษา ความเหมาะสมในการลงทุน ความปลอดภัย รองรับการขยายในอนาคต องค์ประกอบของห้อง    ระบบไฟ ระบบแอร์ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบตรวจจับน้ารั่วซึมอัตโนมัติ ระบบควบคุมความชื้น และระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ DR Site (Disaster Recovery Site)    DR Site คือ สถานที่สารองข้อมูลและกู้ข้อมูลในยามฉุกเฉิน เป็นสิ่งสาคัญและจำเป็นสาหรับองค์กรที่ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยระบบไอที ประเภทของ DR Site สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ Hot Site: การบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ สามารถทางานได้ทันที Warm Site: มีลักษณะคล้าย Hot Site แต่ต้องรอการกู้ข้อมูลก่อนจึงสามารถทางานได้ Cold Site: ต้องจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์มาติดตั้ง จึงเป็นระบบที่ช้าที่สุด Solution สาหรับ

LDAP (Lightweight Directory Access Protocol)

รูปภาพ
LDAP (Lightweight Directory Access Protocol)    LDAP (นิยมอ่านว่า "แอล-แด็บ") เป็น Protocol ที่พัฒนามาจาก Protocol X.500 ซึ่งใช้ในการเข้าถึง และ Update ข้อมูลของ Directory ซึ่ง Directory ในทาง Computer ที่จริงก็อาจเรียกได้ว่าเป็น Database แบบพิเศษ หรือ Data Repository ที่บรรจุรายละเอียดของ Object ต่างๆ เช่น Users, Application, Files, Printer และอื่นๆ รวมทั้ง Security Information ของ Object เหล่านี้ด้วย โดยข้อแตกต่างของ Directory กับ Database ปกติ ได้แก่ Operation: ใน Directory จะเน้นที่การ Access ข้อมูล หรือ อ่านข้อมูลมากกว่า Update หรือ เขียนข้อมูล ในขณะที่ Database ทั่วไปจะเน้นการ Update มากกว่า Transaction: ใน Database จะรองรับการทำ Transaction หรือการ Update ข้อมูลสองจุดที่ต้องสอดคล้องกัน แบบ All-or-nothing เช่น การโอนเงินจากบัญชีหนึ่ง ไปอีกบัญชีหนึ่ง ที่ต้องการความสมบูรณ์ทั้ง 2 ฝั่ง หรือไม่ก็ไม่ต้องทำเลย ในขณะที่ Directory ที่เน้นการอ่านอย่างเดียว อาจจะไม่ต้องการความสอดคล้องกันของข้อมูลมากนัก เช่น เมื่อมีการย้ายที่อยู่ระหว่างคน 2 คน ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเบอร์ติ