บทความ

RTO & RPO คืออะไร

รูปภาพ
RTO & RPO คืออะไร เวลากู้คืนระบบที่ยอมรับได้ (RTO : Recovery Time Objective)    เป็นระยะเวลาสูงสุดที่ยอมรับได้ในการยอมให้คอมพิวเตอร์ ระบบ เครือข่าย หรือ แอปพลิเคชันหยุดทำางานได้  หลังเกิดเหตุขัดข้อง หรือ เกิดเหตุภัยพิบัติ RTO คือ เครื่องมือกำหนดขอบเขตของเวลาที่เกิดเหตุทำาให้การ  ดำเนินงานตามปกติสะดุดหยุดลง และการสูญเสียรายได้ โดยเทียบกับหน่วยเวลาอันเนื่องมาจากเหตุภัยพิบัตินั้น  ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อเนื่องกัน โดยขึ้นกับอุปกรณ์และแอปพลิเคชันที่ได้รับผลกระทบ RTO วัดได้เป็นวินาที นาที  ชั่วโมง หรือวัน และสำคัญต่อการพิจารณาวางแผนการกู้คืนระบบหลังเกิดเหตุภัยพิบัติ ปริมาณข้อมูลสูญหายในเวลาที่ยอมรับได้ (RPO : Recovery Point Objective)    เป็นกำหนดเวลาที่ไฟล์นั้นต้องได้รับการกู้คืนจากหน่วยจัดเก็บสำรองข้อมูล เพื่อให้กลับสู่การดำเนินงานตาม  ปกติ หากคอมพิวเตอร์ ระบบ หรือ เครือข่ายเกิดล่ม อันเนื่องมาจากความขัดข้องของฮาร์ดแวร์ โปรแกรม หรือ  ระบบสื่อสาร RPO จะแสดงโดยการย้อนหลังเวลา (กล่าวคือ ย้อนกลับสู่อดีต) จากเวลาปัจจุบันที่เกิดความล้ม  เหลว และสามารถระบุได้เป็นวินาที นาที ชั่วโมง

สัญลักษณ์ Flowchart

รูปภาพ
สัญลักษณ์ Flowchart ความหมายของ Flowchart Flowchart หรือ ผังงาน คือ รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือ คำพูดที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือ ข้อความทำได้ยากกว่า ประเภทของ Flowchart แบ่งได้ 2 ประเภท คือ ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้างๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์ ประโยชน์ของ Flowchart ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define) แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing) หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug) ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read) ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language) การโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง ประกอบด้วยหลักการ 3 อย่าง คือ การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence) เป็นรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทั

Google Search ทำได้มากกว่าที่คุณคิด

รูปภาพ
Google Search ทำได้มากกว่าที่คุณคิด เครื่องคิดเลข         ตัวอย่าง  เช่น เราต้องการหาว่าค่าของ 5*9+(sqrt 10)^3 คือเท่าไหร่ ก็ให้พิมพ์ไปในช่องค้นหาว่า พอร์ตกราฟ         ตัวอย่าง  เช่น เราต้องการพอร์ตกราฟ 2 เส้นเปรียบเทียบกัน ก็ให้พิมพ์ไปในช่องค้นหาว่า Graph for cos(3x)+sins(x), cos(7x)+sin(x) ดูเวลาทั่วโลก         ตัวอย่าง  เช่น ถ้าต้องการทราบเวลาของประเทศใหน ก็ให้พิมพ์ไปในช่องค้นหาว่า time แล้วตามด้วยชื่อเมือง สภาพอากาศ         ตัวอย่าง  เช่น ถ้าต้องการทราบสภาพอากาศของประเทศใหน ก็ให้พิมพ์ไปในช่องค้นหาว่า weather แล้วตามด้วยชื่อเมือง การแปลงหน่วยวัด         ตัวอย่าง  เช่น ถ้าต้องการทราบการแปลงหน่วยวัดระยะทาง (ความสูง น้ำหนัก มวล) ก็ให้พิมพ์ไปในช่องค้นหาว่า 10.5 เซนติเมตร เป็น นิ้ว เวลาฉายภาพยนตร์         ตัวอย่าง  เช่น ถ้าต้องการทราบเวลาฉายภาพยนต์ ก็ให้พิมพ์ไปในช่องค้นหาว่า movies แล้วตามด้วยชื่อเมือง การแปลงสกุลเงิน         ตัวอย่าง  เช่น ถ้าต้องการทราบการแปลงสกุลเงินต่างๆ ก็ให้พิมพ์ไปในช่องค้นหาว่า 150 ปอนด์สเตอร

Indexed DB มาตรฐานการเก็บข้อมูลออฟไลน์ของ HTML5

รูปภาพ
Indexed DB มาตรฐานการเก็บข้อมูลออฟไลน์ของ HTML5 ทุกวันนี้เราพูดถึง HTML5 กันมาก แต่แท้จริงแล้ว มาตรฐาน (ตามกระบวนการของ W3C) ยังไม่เสร็จแถม HTML5 ประกอบด้วยฟีเจอร์หลายส่วน เช่น <video>, <canvas>, web workers, geolocation ฯลฯ ฟีเจอร์การเก็บข้อมูลของเว็บแอพพลิเคชันแบบออฟไลน์ครับ หรือที่เรียกกันว่า Local Storage DOM Storage แนวคิดของการเก็บข้อมูลออฟไลน์นั้น มีรากเหง้ามาตั้งแต่คุกกี้ในเบราว์เซอร์ แต่ภายหลังเมื่อเว็บแอพพลิเคชันพัฒนาขึ้น ก็เกิดความต้องการเก็บข้อมูลที่มีความสามารถมากกว่าเดิม ก่อนหน้านี้สัก 2 - 3 ปี ก็มีความพยายามผลักดันวิธีเก็บข้อมูลที่เรียกว่า Web Storage หรือ DOM Storage หรือ LocalStorage (คนนิยมเรียก DOM Storage กันมากที่สุด แต่ตามมาตรฐานของ W3C เรียกว่า Web Storage) เว็บเบราว์เซอร์ในปัจจุบันทุกตัวรองรับ DOM Storage ตั้งแต่ Firefox 2 (Mozilla DOM Storage) และ Safari 4 นอกจากนี้ยังมี IE8 (MSDN Dom Storage), Chrome 4 และ Opera 10.50 หมายเหตุ  DOM Storage ใช้กับเว็บเพจ เว็บแอพพลิเคชันเท่านั้น เป็นคนละตัวกับ mozStorage ของ Firefox ที่ extension

HTML5 & CSS3

รูปภาพ
HTML5 & CSS3 HTML5 เรียกได้ว่าเป็นการรวมตัวกันระหว่าง HTML + CSS + JS เนื่องจากเทรนด์ของการทำเว็บในยุคนี้และ พ.ศ. หน้า นอกจากจะต้องสวยงามตามครรลองเมื่อแสดงผลในจอคอมพิวเตอร์ และโน้ตบุ๊กขนาดต่างๆ แล้วจะต้องรองรับการแสดงผลที่สวยงามบนทุก Platform ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอุปกรณ์หน้าจอสี่เหลี่ยมก็ยังได้ แต่ถ้าจะยกตัวอย่างที่เข้าใจง่ายก็คือเวลาเปิดเว็บบน iPad, Galaxy Tab ฯลฯ จะต้องแสดงผลได้ถูกต้องตามมาตรฐาน แต่เนื่องจากเทคนิคในการออกแบบเว็บไซต์เพื่อให้มีลูกเล่นหรูหราเฟี้ยวฟ้าวนั้น หลายๆ คนก็ยังนิยมใช้แฟลชในการออกแบบเว็บอยู่ ซึ่งแน่นอนมาเปิดบน iPad ก็แสดงผลไม่ได้ เพราะฉะนั้น คำตอบของการออกแบบเว็บให้เปิดได้สวยงามทุก Platform และมีลูกเล่นประกอบได้ตามต้องการ ก็คือต้องออกแบบเว็บโดยใช้ HTML5 และ CSS3 นั่นเองครับ ความสามารถใหม่ใน HTML5 Semantics  ฟีเจอร์นี้เปรียบเหมือนการหาจุดร่วมที่ดีไซน์เนอร์ และโปรแกรมเมอร์จะทำงานด้วยกันได้ราบรื่นขึ้น HTML5 จะสามารถตั้งชื่อ element ได้เลย (จากเดิมเราจะคุ้นว่าตรงนี้คือ div นะ ตรงนี้คือ span นะ แต่เราสามารถตั้งแท็ก nav หรือ aside

10 ภัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ประจำปี พ.ศ. 2557

รูปภาพ
10 ภัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ประจำปี พ.ศ. 2557 Top Ten Cyber Security Threats for 2014      จากความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสื่อสารของโลกที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมา พบว่า  “The Nexus of Forces”  ของ Gartner เป็นกระแสที่มาแรง และกำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก โดย  S-M-C-I  ย่อมาจาก  Social - Mobile - Cloud - Information  อุบัติการณ์การมาบรรจบกัน (Convergence) ของกระแสความนิยมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น Facebook และ Twitter ร่วมกับการใช้สมารท์โฟน ตลอดจนความนิยมในการดาวน์โหลด  “Mobile App”  ในการติดต่อกันในลักษณะ Social Network เช่น LINE หรือ WhatsApp ตลอดจนการใช้งานระบบ Cloud ในการจัดเก็บข้อมูลทั้งส่วนตัวและข้อมูลขององค์กร เช่น การใช้ Free eMail : Hotmail, Gmail รวมถึงการใช้ Cloud - based Application ยอดนิยมต่างๆ เช่น iCloud และ Dropbox เป็นต้น หลายคนไม่ทราบว่าการจัดเก็บข้อมูล (Data) ในรูปแบบสารสนเทศ (Information) ในลักษณะการจัดเก็บแบบข้อมูลส่วนตัว (Personal Data) และการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร (Corporate Data) นั้น เราอาจถูกละเมิดความเป็นส่วนต